วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หายไปหลายวันเลยกลับมาแล้วคะ รู้ทันกฏหมายนิเทศศาสตร์วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง "การหมิ่นประมาทคนตาย"

           "การหมิ่นประมาทคนตาย"  ดิฉันว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เห็นอยู่ใกล้ตัว ในบางคนที่ไม่ค่อยจะทราบเกี่ยวกับกฏหมายมาตรา327 นี้ วันนี้เลยนำให้มาให้ทุกคนได้รับทราบกันว่า การที่เราใส่ความหรือพูดจาที่ทำให้บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว เกิดความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ในขณะที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้แปลว่าผู้ใส่ความนั้นจะไม่ได้รับความผิดนะคะ ถึงคนตายไม่ได้ฝืนขึ้นมาตอบโต้ได้หรือฟ้องกลับแต่ก็ใช่ว่าเขาไม่ได้มีญาติพี่น้องครอบครัวหรือสามีภรรยาของเขานะคะ เลยอยากให้ทุกคนทราบกันว่า คนไม่มีชีวิตไม่ใช่จะคิดว่าเราก็สามารถพูดหรือกระทำอะไรก็ได้ ค่ะ

            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการหมิ่นประมาท “ผู้อื่น” ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มี ชีวิตอยู่จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้   แต่กฎหมายยังได้บัญญัติกำหนดโทษผู้ที่ทำการหมิ่นประมาทคนตายไว้ด้วย คือ ต้องหมิ่นประมาทคนที่ตายไปแล้ว
           การหมิ่นประมาทคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  327 บัญญัติ ไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดามารดา คู่สมรสหรือ บุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น”
          ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาทคนตายนั้น จะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับหมิ่นประมาทธรรมดา คือ    เป็นการใส่ความผู้ตาย ต่อบุคคลที่สาม แต่หลักเกณฑ์ที่จะทำให้การ หมิ่นประมาทคนตายเป็นการผิดกฎหมาย ก็คือ
          การใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของ ผู้ตาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่ใช่ว่าใส่ความผู้ตาย แล้ว น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง   ผู้ตาย คือคนตายที่ไม่มีชีวิต ต้องดูว่าขณะใส่ความหรือกล่าวหมิ่นประมาท นั้น คนที่ถูกใส่ความตายหรือยัง ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีผลทางกฎหมาย คือ ถ้าขณะ ใส่ความตายไปแล้ว แต่ผู้ตายไม่มีบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ก็จะเอาผิดแก่ผู้ ใส่ความไม่ได้ 


  กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท คนตายไว้ดังนี้
    *  บิดา  ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา
    *  มารดา  คือเป็นแม่ นั่นเอง  แต่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสกับพ่อ
    *  คู่สมรส  ต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถ้าเพียงแต่  อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย
   *   บุตร  ก็ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ตายเป็นบิดา บิดาก็ต้อง จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดา มารดากับบุตรมีความ สัมพันธ์กันตามกฎหมายอย่างถูกต้องเสมอแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายไว้เพียงเท่านี้ บุคคลนอกเหนือ จากนี้ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย  มิฉะนั้นการใส่ความผู้ที่ตายไปแล้วร้อยปีพันปีนั้น
เป็นผิดหมด  เช่น หมิ่นประมาทพระเจ้าเอกทัศน์หากใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหลาน พระเจ้าเอกทัศน์ก็เอาผิดผู้หมิ่นประมาทได้ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
       อย่างไรก็ตามถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้อง ทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็น ผู้เสียหาย หมายความว่าถ้าได้มีการหมิ่นประมาทคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่คนที่ถูก หมิ่นประมาทได้ตายในเวลาต่อมาบุคคลดังกล่าวข้างต้นจะดำเนินต่อไปกับ ผู้หมิ่นประมาทได้

 

 

 ตัวอย่างเช่น

       นายเจ(นามสมมุติ) เคยเป็นเพื่อนเก่าของนายเชน(นามสมมุติ)ผู้เสียชีวิต นายเจได้บอกกับนางสาวชิด(น้องสาวผู้เสียชีวิต) ว่านายเชนได้ขโมยเงินของตนไปจำนวนหนึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว จึงมาทวงเงินกับญาติผู้ตาย

     ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น” 

   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า คนตายแล้วเราไม่สามารถเอาความผิดไปโยนให้เขารับได้ เพราะถือคนตายเป็นบุคคลที่ไม่สามารถทำอะไรได้  กฏหมายจึงมีไว้ให้ทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดการกระทำผิดกันนะคะ ถ้าในบางคนไม่ทราบว่ายังมีกฏหมายนี้อยู่ละก็แนะนำให้ทุกคน ค่อยๆคิดค่อยๆพูดใจเย็นๆทุกอย่างก็จะดีเองนะคะ  ห่วงใยจากผู้จัดพิมพ์ค่ะ

 


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น