วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หายไปหลายวันเลยกลับมาแล้วคะ รู้ทันกฏหมายนิเทศศาสตร์วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง "การหมิ่นประมาทคนตาย"

           "การหมิ่นประมาทคนตาย"  ดิฉันว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เห็นอยู่ใกล้ตัว ในบางคนที่ไม่ค่อยจะทราบเกี่ยวกับกฏหมายมาตรา327 นี้ วันนี้เลยนำให้มาให้ทุกคนได้รับทราบกันว่า การที่เราใส่ความหรือพูดจาที่ทำให้บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว เกิดความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ในขณะที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้แปลว่าผู้ใส่ความนั้นจะไม่ได้รับความผิดนะคะ ถึงคนตายไม่ได้ฝืนขึ้นมาตอบโต้ได้หรือฟ้องกลับแต่ก็ใช่ว่าเขาไม่ได้มีญาติพี่น้องครอบครัวหรือสามีภรรยาของเขานะคะ เลยอยากให้ทุกคนทราบกันว่า คนไม่มีชีวิตไม่ใช่จะคิดว่าเราก็สามารถพูดหรือกระทำอะไรก็ได้ ค่ะ

            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการหมิ่นประมาท “ผู้อื่น” ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มี ชีวิตอยู่จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้   แต่กฎหมายยังได้บัญญัติกำหนดโทษผู้ที่ทำการหมิ่นประมาทคนตายไว้ด้วย คือ ต้องหมิ่นประมาทคนที่ตายไปแล้ว
           การหมิ่นประมาทคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  327 บัญญัติ ไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดามารดา คู่สมรสหรือ บุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น”
          ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาทคนตายนั้น จะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับหมิ่นประมาทธรรมดา คือ    เป็นการใส่ความผู้ตาย ต่อบุคคลที่สาม แต่หลักเกณฑ์ที่จะทำให้การ หมิ่นประมาทคนตายเป็นการผิดกฎหมาย ก็คือ
          การใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของ ผู้ตาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่ใช่ว่าใส่ความผู้ตาย แล้ว น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง   ผู้ตาย คือคนตายที่ไม่มีชีวิต ต้องดูว่าขณะใส่ความหรือกล่าวหมิ่นประมาท นั้น คนที่ถูกใส่ความตายหรือยัง ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีผลทางกฎหมาย คือ ถ้าขณะ ใส่ความตายไปแล้ว แต่ผู้ตายไม่มีบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ก็จะเอาผิดแก่ผู้ ใส่ความไม่ได้ 


  กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท คนตายไว้ดังนี้
    *  บิดา  ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา
    *  มารดา  คือเป็นแม่ นั่นเอง  แต่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสกับพ่อ
    *  คู่สมรส  ต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถ้าเพียงแต่  อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย
   *   บุตร  ก็ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ตายเป็นบิดา บิดาก็ต้อง จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดา มารดากับบุตรมีความ สัมพันธ์กันตามกฎหมายอย่างถูกต้องเสมอแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายไว้เพียงเท่านี้ บุคคลนอกเหนือ จากนี้ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย  มิฉะนั้นการใส่ความผู้ที่ตายไปแล้วร้อยปีพันปีนั้น
เป็นผิดหมด  เช่น หมิ่นประมาทพระเจ้าเอกทัศน์หากใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหลาน พระเจ้าเอกทัศน์ก็เอาผิดผู้หมิ่นประมาทได้ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
       อย่างไรก็ตามถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้อง ทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็น ผู้เสียหาย หมายความว่าถ้าได้มีการหมิ่นประมาทคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่คนที่ถูก หมิ่นประมาทได้ตายในเวลาต่อมาบุคคลดังกล่าวข้างต้นจะดำเนินต่อไปกับ ผู้หมิ่นประมาทได้

 

 

 ตัวอย่างเช่น

       นายเจ(นามสมมุติ) เคยเป็นเพื่อนเก่าของนายเชน(นามสมมุติ)ผู้เสียชีวิต นายเจได้บอกกับนางสาวชิด(น้องสาวผู้เสียชีวิต) ว่านายเชนได้ขโมยเงินของตนไปจำนวนหนึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว จึงมาทวงเงินกับญาติผู้ตาย

     ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น” 

   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า คนตายแล้วเราไม่สามารถเอาความผิดไปโยนให้เขารับได้ เพราะถือคนตายเป็นบุคคลที่ไม่สามารถทำอะไรได้  กฏหมายจึงมีไว้ให้ทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดการกระทำผิดกันนะคะ ถ้าในบางคนไม่ทราบว่ายังมีกฏหมายนี้อยู่ละก็แนะนำให้ทุกคน ค่อยๆคิดค่อยๆพูดใจเย็นๆทุกอย่างก็จะดีเองนะคะ  ห่วงใยจากผู้จัดพิมพ์ค่ะ

 


      

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มาถึงกฏหมายที่ใกล้ๆตัวที่หลายคนอาจจะประสบด้วยตัวเองก็ได้ ในมาตรา 136 คะ

        ดิฉันขอบอกว่ากรณีตัวอย่างที่เล่าให้ฟังต่อจากนี้ อาจเคยประสบกับใครหลายๆคน กับวินาทีที่เร่งด่วนของเรา แต่ต้องมาถูกใบสั่งจากเจ้าหน้าทีตำรวจ บนท้องถนนแห่งความเร่งรีบที่ต้องทำเวลาในการไปทำงานหรือวัยรุ่นก็อาจจะต้องรีบไปเรียนในเวลาเช้าๆ แต่ถูกเจ้าหน้าทีตำรวจจับและอาจจะยึดใบขับขี่ หรือยึดรถมอเตอร์ไซต์และกรณีอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรเราก็ไม่สามารถกระทำการผิด ที่จะคิดด่าหรือทำร้ายเจ้าหน้าทีหรือฝ่าฝืนการจับนั้นได้ และถ้าเกิดกรณี ดังนี้ คุณจะเป็นผู้กระทำผิดในฐานหมิ่นเจ้าพนักงานทันที
          
         ตัวอย่างเช่น

       
               นายอิด(นามสมมุติ) รีบไปมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เพราะตื่นสายและยังไม่ได้สวมมวกกันน็อค
จึงถูกเจ้าที่ตำรวจเรียก เมื่อนายอิด จอดรถได้ พูดจาต่อว่าเจ้าที่ ว่า "จับหาแม่มึงเหรอ" คุณมีความผิดทันทีตาม  หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน   มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หมายเหตุมาตรา 136 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519
 
       **หมายเหตุ**ด้วยรักและความหวังดีจากผู้จัดพิมพ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้จริงก็ขอให้ปล่อยให้เจ้าหน้าที่เขาทำงานของเขาไปดีกว่านะคะ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานต่างๆเขาก็มีหน้าที่และรับคำสั่งมาอีกที ใจจริงๆเขาก็ไม่อยากกระทำกับเราหรอก แต่มันคือหน้าที่ เช่นกับเราที่เป็นประชาชนที่ดีเราก็จงทำตนให้ดีปลอดภัยจากสิ่งที่ผิดกฏหมายทุกประการนะคะ 



วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อสำคัญที่นักนิเทศศาสตร์ควรรู้โทษของละเมิดลิขสิทธิ์


การละเมิดลิขสิทธิ์
     กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
1.ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เจ้าของลิขสิทธิ์
4.นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

โทษการละเมิดลิขสิทธิ์
     กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แล้วกำหนดโทษหนักแก่ผู้ทำละเมิดไว้ชัดเจน การละเมิดต่องานของผู้สร้างสรรค์ทั้งทำซ้ำ ดัดแปลงงาน เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับความยินยอมตามกฎหมาย ต้องมีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  

ก่อนนอนคืนนี้รู้ทันกฏหมายเกี่ยวกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยกันคะ

     กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด (กรมทรัพย์สินทางปัญญา,2537)

ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์
1.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
4.ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5.อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดกา แข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

 มาตรา 329  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม  ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ตัวอย่างเช่น

      หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่ง นำภาพของบุคคลดังบุคหนึ่ง ไปวางไว้กับรูปการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและเขียนข่าวเฉิงใส่ความว่าอยู่ภายใต้การบังคับการเมืองฝ่ายไม่ดีฝ่ายนี้ เมื่อบุคคลนั้นไม่ได้ความผิดตามที่ข่าวที่หนังสือพิมพ์เขียนข่าว บุคคลนั้นสามารถ ออกมาต่อวาหรือกล่าววาจาต่างๆได้  ด้วยวาจาอย่างสุจริต 

กฏหมายที่น่าสนใจวันนี้

กฏหมายอาญา

มาตรา 326* ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 326 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]
ตัวอย่าง
นาย โจ อิจฉา นายจูไม่อยากให้เขาได้เลื่อนตำแหน่ง โดยไปบอกคนอื่นคือนางจอ ว่านายจู ขโมยไอแพทที่บริษัทไป ทั้งๆที่นายจูไม่ได้เป็นคนขโมยไป นายจูจึงมีความผิด ในมาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]