วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรามาทราบความผิดทางกฏหมายของอาชีพ"ปาปารัสซี่"กันค่ะ

   เราคงทราบและรู้จัก ปาปารัสซี่กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ แต่วันนี้เราจะทำความรู้จักให้ลงลึกของกฎหมายของปาปารัสซี่นี้ว่า
มีกฏหมายใด คอยจงดูและจ่องดำเนินคดีกับเจ้าปาปารัสซี่นี้ อยู่ในกฎหมายมาตรา 46 เสรีภาพสื่อค่
มาตรา 46 : เสรีภาพของสื่อ

ถึงแม้ว่าปาปารัสซี่ จะเป็นสื่อมวลชนที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นใด และ บุคคลผู้ที่ถูกแอบเก็บภาพ อาธิเช่น ดารา จะเป็นบุคคลสาธารณะก็ตาม ปาปารัสซี่ต้องเคารพความเป้นส่วนตัวของบุคนนั้นด้วย
กรณีนำไปเผยแพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆหรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช้เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้แป็นการเผยเพร่บนสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นนิตยาสาร (Magazineหนังสือพิมพ์ เป็นต้น หรือบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช้เป็นการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แล้วการเผยแพร่นั้นทำให้บุคคลผู้ที่ถูกเหล่าปาปารัสซี แอบเก็บภาพ (เหยื่อ หรือ เป้าหมาย) ได้รับ’’’ความเสียหาย’’’



ความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์



’’’ความเสียหาย’’’ ในที่นี้ทำให้เสียหายต่อ’’’ชื่อเสียง’’’ ในทางกฎหมายนั้นเราจะเรียก ปาปารัสซี ว่า ’’’ผู้ที่กระทำละเมิด’’’ ต่อ บุคคลผู้ที่ถูก แอบเก็บภาพ เราจะเรียกบุคคลนี้ว่า ’’’ผู้ที่ถูกกระทำละเมิด’’’ ฉะนั้นแล้ว ปาปารัสซี กระทำละเมิดตาม ‘’’มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’’’

ซึ่ง’’’มาตรา 420’’’ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
และในบางทีเหล่าปาปารัสซี ก็นำภาพที่ถ่ายได้ไปทำข่าว ซึ่งบางครั้งข่าวเหล่านั้นก็อาจมีข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงและข่าวเหล่านั้นก็อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือการงานได้ เมื่อเป็นการกระทำเช่นนี้ผู้ที่ทำการให้ข่าวต่างๆหรือสื่อ ในทางที่เสียหายก็มีความผิดฐานละเมิดต่อผู้ที่ตกเป็นข่าวนั้นได้ ตามมาตรา 420 ประกอบกับมาตรา 423
ซึ่ง ‘’’มาตรา 423’’’ บัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่การนั้นแม้ทั้งเมื่อ ตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
สำหรับค่าสินไหมเพื่อการละเมิดนั้นผู้ที่ถูกละเมิดต้องร้องขอต่อศาลเองเพื่อที่ศาลจะได้ทำการวินิจฉัยไปตามรูปการแห่งคดีแล้วแต่กรณีว่าจะให้ได้รับการทดแทนหรือเยียวยาอย่างไรบ้าง ซึ่งมีบัญญัติไว้ใน’’’มาตรา 447’’’ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องที่เกียวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่องความเสียหายที่มีต่อชื่อเสียง

ซึ่ง ‘’’มาตรา 447’’’ บัญญัติว่า “บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำให้ ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่า เสียหายด้วยก็ได้” 


เห็นแล้วใช่ไหมว่า อาชีพ  ปาปารัสซี่ หรือที่เรียกว่างาน แอบถ่ายภาพ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มารู้จักมาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทน เพื่อการละเมิด


              หลายๆคนอาจจะยังสับสนและอาจจะคิดอย่างหนักว่าเมื่อเกิดการละเมิด และจะต้องจ่ายสินไหมทดแทนอย่าไรนั้น วันนี้ดิฉันสรุปมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
              ในมาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ศาลวินิจัย ตามควรแก่
พฤติการณ์ และความร้ายแรงละเมิด อนึ่ง ค่าสินใหม่ทดแทนนั้น ก็จะมีในรูปแบบดังนั้
     " การคืน ทรัพย์ สินอันผู้เสียหายต้องเสียไป เพราะละเมิด" หรือใช้ราคาทรัพย์นั้น รวมทั้ง ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้  เพื่อความเสียหายใดๆ อันก็ขึ้นนั้น
            เช่น นาย ก เป็นผู้ละเมิดได้ ขับรถโดยประมาทชนเด็กหญิง ข ตายและทรัพย์สินของ เด็กหญิง ข เสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้นางสาว ข ตามความเหมาะสมและความเสียหายของเด็กหญิง ข ให้กับญาติผู้เสียชีวิต

          แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครที่จะคิดอยากจะยุ่งยากและเสียเงินทองเพื่อจ่ายสินไหมทดแทนความเสียหายให้คนอื่นจริงไหมคะ ทางที่ดี ใช้ชีวิตอยู่ในความไม่ประมาทเลินเล่อ ชีวิตเราทุกคนก็จะอยู่อย่างปลอดภัยทั้งสองฝ่าย และมีความสุขอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีนะคะ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันนี้ขอนำเสนอกฏหมายที่ใกล้ตัวกันหน่อยในมาตรา11

   เรื่องนี้เคยประสบกับตัวดิฉันมาแล้วค่ะ แล้วก็อยากทราบเหมือนกันว่าทุกเคย ปฏิบัติตามดิฉันรึเปล่า
ขอเล่าจากประสบการณ์จริงๆนะคะ เกิดจากการส่ง ข้อความที่ส่งต่อกันมาอีกทีนึ่งและเป็นการบอกต่อกัน
ซึ่งทำให้เราเชื่อจนต้องทำตามนั้นก็ เคยมี ข้อความส่งมาจากอีเมล์เว็บที่เราใช้บริการ ส่งมาให้ก๊อบปี้
อีเมล์นั้นแล้วส่งต่อไปยังอีเมล์ของเพื่อนๆ ถ้าไม่ต้องต่อนั้นจำนวน20คน ทางระบบจะทำการระงับอีเมล์ของเรา
หลังจากคุณได้อ่านข้อความ/จดหมายฉบับนี้
      เราทำตามที่อีเมล์บอกต่อส่งมาเรื่อยๆ เพราะเชื่อแต่วันนี้ดิฉันได้เรียกเกี่ยวกับกฏหมายขอนี้ อยู่ในมาตรา11
จึงได้ทราบว่า มันไม่ใช่ความเป็นจริง และยังตกเป็นผู้ที่ได้รับความก่อกวนจากผู้ที่ก่อความวุ่นวายในระบบจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย
      มาตรา 11 จึงกล่าวไว้ว่า ผู้ใด ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือ
ปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมลดังกล่าว อันเป็นกระบวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข

 เช่น  นี้ก็เป็นกรณีตัวอย่างที่ดิฉันเคยพบมากับตัวเองนะคะ และมาดูกันกรณีศึกษานี้ "จะต้องระวางโทษไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท"